ปรับปรุงคุณภาพส้มโอลุ่มน้ำ ฯ http://tubtim.siam2web.com/

 

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญของส้มโอ 

รศ.ดร. รัตนา สดุดี ภาควิชาการจัดการศัตรูพืช 

คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

โรครากเน่าและโคนเน่า

  (gallery) 20091113_65535.jpg(gallery) 20091113_65636.jpg

สาเหตุ  เกิดจากเชื้อราไฟทอฟทอรา เป็นเชื้อที่อยู่ในดินและน้ำ

ลักษณะอาการ
    -    เกิดแผลเน่าสีดำหรือน้ำตาลของเปลือกบริเวณโคนต้น เมื่อลอกเปลือกออกพบแผล

          สีน้ำตาลแดงในเนื้อไม้
     -    รากเน่าเป็นสีน้ำตาลแดง รากเปื่อยหลุดร่อนเหลือแต่แกนกลาง
     -    ใบเหลืองเหี่ยวและหลุดร่วง

การแพร่ระบาด

        โรคนี้ระบาดมากในฤดูฝน หรือสภาพที่มีความชื้นสูง แพร่ระบาดโดยสปอร์เชื้อราติดไปกับดินหรือน้ำที่ไหลไปตามร่องสวน

การป้องกันกำจัด
     -   ปรับปรุงดินให้ร่วนซุยมีการระบายน้ำและอากาศได้ดี
      -   ควรระวังการพรวนดิน ใส่ปุ๋ย อย่าให้โดนรากหรือโคนต้น เพราะจะเกิดบาดแผล
      -   เฉือนแผลที่เน่าไปเผาทำลาย แล้วทาส่วนที่เฉือนออกด้วยสารฆ่าเชื้อรา อาลีเอท ในอัตรา

          40 - 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร


โรคราดำ 

โรคราดำสาเหตุ เกิดจากราเมลิโอรา หรือราแคปโนเดียม

ลักษณะอาการ
   - มีราดำหรือน้ำตาลขึ้นปกคลุมเกาะติดกันแน่นเป็นแผ่นบนใบ ผล และกิ่งก้าน
    - ทำให้ต้นส้มโอแคระแกร็น

การป้องกันกำจัด
   - ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคเผาทำลาย

    - ฉีดพ่นน้ำที่ใบและกิ่งเพื่อชะล้างราดำ
    - ฉีดพ่นด้วยสารฆ่าเชื้อรา เช่น เบนโนมิล คาร์เบนตาซิม เป็นต้น
การแพร่ระบาด

   - เส้นใยและสปอร์ราปลิวไปกับลม เมื่อตกลงบนบริเวณน้ำหวานที่เพลี้ยอ่อนและเพลี้ยแป้งถ่ายออกมา ราดำก็เจริญปกคลุมบริเวณนั้น


โรคแคงเกอร์ 

สาเหตุ เชื้อแบคทีเรียแซนโธโมเนส

ลักษณะอาการ
   -   ที่ใบและผลเกิดแผลมีลักษณะฟูคล้ายฟองน้ำสีเหลืองอ่อน ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม แตกสะเก็ดขรุขระ นูนและแข็งตรงกลางเป็นรอยบุ๋ม มีวงสีเหลืองล้อมรอบแผล
     -  ที่กิ่งก้าน จะเกิดแผลรูปร่างไม่แน่นอน ไม่มีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบ เมื่อต้นส้มโอเป็นโรคนี้รุนแรง จะ ทำให้ต้นแคระแกร็น กิ่งก้านแห้งตาย และทรุดโทรมอาจถึงตายได้

การป้องกันกำจัด
   -   ป้องกันกำจัดแมลงปากกัดและซอนใบ ซึ่งเป็นช่องทางให้เชื้อโรคเข้าทำลาย
    -  ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรค นำไปเผาทำลาย
    -  ฉีดพ่นด้วยสารประกอบทองแดง (คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์) อัตรา 30-50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น

       ป้องกันโรคตอนต้นฤดูฝนทุก 7-10 วัน หรือฉีดพ่นระยะส้มใบอ่อนจนใบส้มเจริญเต็มที่

การแพร่ระบาด

    -  เชื้อแบคทีเรียปรากฏเป็นจำนวนมากในแผลของส้มที่เป็นโรค และแพร่กระจายไปสู่ต้นอื่นๆ

        ทางปากใบและบาดแผล

     -  ลมและฝนจะช่วยกระจายเชื้อไปยังส่วนอื่นๆ ของส้ม

     -  หากมีหนอนชอนใบเข้าทำลายส้ม เชื้อแคงเกอร์จะเข้าทำลายได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

 

โรคทริสเตซา

สาเหตุ เชื้อทริสเตซาไวรัส

ลักษณะอาการ

    สายพันธุ์รุนแรงทำให้ลำต้นบุ๋ม  ใบเหลือง ต้นแคระแกรน ทรุดโทรม และแห้งตาย

การป้องกันกำจัด

      เขตกรรม  ใช้กิ่งพันธุ์ที่แข็งแรง สมบูรณ์ และปราศจากโรคไปปลูก

     สารเคมี  ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูส้ม เช่น เพลี้ยอ่อนส้ม หรือเพลี้ยอ่อน ชนิดอื่นๆ ด้วยสารเคมี คาร์บาริล หรือ มาลาไธออน อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อเป็นการกำจัดแมลงพาหะ

       วิธีกล เนื่องจากโรคทริสเตซา เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งไม่มีสารเคมีป้องกันกำจัดโรคได้ ถ้าหากส้มเป็นโรคนี้แล้วควรตัดทิ้งและ เผาทำลาย เพื่อลดปริมาณของโรค และลดการ ระบาดของโรคนี้

 

การแพร่กระจายของโรคทริสเตซา

1. ติดไปกับกิ่งพันธุ์และส่วนขยายพันธุ์ เช่น ตา ยอด

2. แมลงพาหะเพลี้ยอ่อนส้มนำเชื้อไปถ่ายทอดสู่ต้นส้มผ่านการดูดกินต้นส้ม

โรคกรีนนิ่ง (ฮวงลองบิง)

สาเหตุ เชื้อแบคทีเรีย

ลักษณะอาการ

      - ปรากฏยอดเหลืองเป็นหย่อมๆ ในทรงพุ่ม

        - เนื้อใบเหลืองแต่เส้นใบยังเขียว คล้ายอาการใบแก้วจากการขาดธาตุสังกะสี อาจพบจ้ำเขียว

          บนเนื้อใบที่ซีดเหลือง

        - ผลเบี้ยวและขนาดเล็กลง หรือมีจ้ำเขียวเกิดบนผิวผล ผลร่วงก่อนเจริญเต็มที่ ผลร่วงมีขั้วผลเป็น

          สีน้ำตาลแดง

        - ทรงพุ่มบาง ออกดอกมากผิดปกติ และต้นทรุดโทรม

การป้องกันกำจัด

   เขตกรรม คัดเลือกกิ่งพันธุ์ที่สมบูรณ์ และปราศจากโรคไปปลูก

   วิธีกล      1. ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคเผาทำลาย เพื่อลดปริมาณของเชื้อโรค

                 2. ถ้าหากเป็นโรคกรีนนิ่งรุนแรง ให้ขุด ถอน และเผาทำลาย

   สารเคมี    ป้องกันกำจัดแมลงพาหะนำโรค คือ เพลี้ยไก่แจ้

การแพร่ระบาด

         โรคกรีนนิ่ง แพร่ระบาดโดยเชื้อบักเตรีติดไปกับกิ่งพันธุ์ และถ่ายทอดโดยเพลี้ยไก่แจ้

ลักษณะอาการของโรคกรีนนิ่งที่เกิดกับใบ




 

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 23,670 Today: 1 PageView/Month: 31

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...