ปรับปรุงคุณภาพส้มโอลุ่มน้ำ ฯ http://tubtim.siam2web.com/

ข้อบังคับวิสาหกิจชุมชนปรับปรุงคุณภาพส้มโอ ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

ôôôôôôôô

 

หมวดที่ 1 ชื่อและที่ตั้ง

                ข้อที่ 1. กลุ่มนี้ชื่อว่า วิสาหกิจชุมชนปรับปรุงคุณภาพส้มโอ

                ข้อที่ 2. ที่ทำการ 118/3   หมู่ที่ 17 ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

หมวดที่ 2 หลักการทั่วไป

                ข้อที่ 3. วิสาหกิจชุมชนปรับปรุงคุณภาพส้มโอ ไม่มีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง

                ข้อที่ 4. สมาชิกวิสาหกิจชุมชนปรับปรุงคุณภาพส้มโอ ประกอบด้วย เกษตรกรทำสวนส้มโอ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรทำสวนส้มโอ

                ข้อที่ 5. วิสาหกิจชุมชนปรับปรุงคุณภาพส้มโอ จะเน้นหนักในเรื่องการผลิตส้มโอ ให้มีทั้งปริมาณและคุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาดและจำหน่ายในราคาที่ยุติธรรม

หมวด 3 วัตถุประสงค์

                ข้อที่ 6. เพื่อเป็นแหล่งรองรับการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และทดลองทางด้านวิชาการของทางราชการ และการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

                ข้อที่ 7. เพื่อเผยแพร่และกระจายความรู้ จากชาวสวนสู่ชาวสวน จากชาวสวนสู่นักวิชาการ และจากนักวิชาการสู่ชาวสวน

                ข้อที่ 8. เพื่อกระตุ้นให้ชาวสวนส้มโอ มีจิตสำนึก และกระตือรือร้น ในการพัฒนาคุณภาพส้มโออย่างจริงจังและต่อเนื่อง

                ข้อที่ 9. เพื่อให้สมาชิกแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ต่างๆซึ่งกันและกัน

                ข้อที่ 10.เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานความสามัคคี และร่วมมือกันในการแก้ปัญหาของชาวสวนส้มโอ         

                ข้อที่ 11. เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก โดยสมาชิกมีการส่งเป็นประจำและต่อเนื่อง

หมวดที่ 4 สมาชิกภาพ

                ข้อที่ 12. คุณสมบัติสมาชิก

                12.1 เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพทำสวนส้มโอ ในเขตอำเภอปากพนัง

                12.2 ต้องสมัครเป็นสมาชิกกลุ่ม พร้อมกรอกรายละเอียดตามความเป็นจริงในใบสมัคร

                12.3 ต้องชำระค่าธรรมเนียมสมัครเป็นสมาชิก จำนวน 30 บาท

                12.4 ต้องชำระค่าหุ้นรายเดือน ทุกๆ 2 เดือน

                12.5 การพ้นจากการเป็นสมาชิก คือ

                                (1) ตาย

                                (2) ลาออก โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรต่อเลขานุการกลุ่ม

                                (3) คณะกรรมการมีมติให้ออก

                                (4) ขาดการส่งเงินค่าหุ้นรายเดือน ติดต่อกัน 2 งวด (4 เดือน)

                                (5) ไม่มาประชุมกลุ่มติดต่อกันอย่างน้อย 3 ครั้ง เว้นเสียแต่ได้ยื่นใบลาต่อเลขานุการกลุ่ม

                12.6 สมาชิกที่พ้นจากการเป็นสมาชิก หากต้องการเป็นสมาชิกใหม่ ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก 300 บาท

                12.7  สมาชิกที่พ้นจากการเป็นสมาชิก จะรับค่าหุ้นคืนได้ ในเดือนถัดไป แต่จะไม่มีเงินปันผลให้

                ข้อที่ 13. การส่งเงินค่าหุ้น ส่ง 2 เดือนต่อ 1 ครั้ง โดยสมาชิกต้องส่งค่าหุ้นในเดือนที่ผ่านมา และเดือนปัจจุบันด้วย  กำหนดส่งเงิน ทุกวันพุธสัปดาห์ที่ 2 ของเดือน ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป หากมีการเปลี่ยนแปลงในเดือนใด จะมีหนังสือแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

หมวดที่ 5 การบริหารจัดการกลุ่ม

                ข้อที่ 14. คณะกรรมการบริหารกลุ่มประกอบด้วย

-                   ประธานกลุ่ม

-                   รองประธานกลุ่ม 3 คน (ฝ่ายบริหาร , ฝ่ายวิชาการ , ฝ่ายการตลาด)

-                   เลขานุการกลุ่ม

-                   เหรัญญิก

-                   ประชาสัมพันธ์

-                   กรรมการ

-                   กรรมการตรวจสอบ

-                   คณะทำงาน 6 คณะ

ข้อที่ 15. คณะกรรมการบริหารกลุ่ม อยู่ในวาระคราวละ 2 ปี

ข้อที่ 16. กรณีกรรมการบริหารกลุ่มพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้สมาชิกกลุ่มคัดเลือก และลงมติในที่ประชุมใหญ่

หมวดที่ 6 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ

ข้อที่ 17.  อำนาจหน้าที่ของประธาน

-                   กำกับดูแลงานทั้งภายในและภายนอกกลุ่ม

-                   เรียกประชุมคณะกรรมการและสมาชิกกลุ่ม

-                   ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม

ข้อที่ 18. อำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหาร

-                   ทำหน้าที่ช่วยกำกับดูแล ทั้งภายใน และภายนอกกลุ่ม ร่วมกับประธาน

-                   รับผิดชอบงานตามที่ประธานมอบหมาย

-                   วางแผนการดำเนินงานของกลุ่มให้บรรลุวัตถุประสงค์

ข้อที่ 19. อำนาจหน้าที่ของฝ่ายวิชาการ

-                   รวบรวมสถิติข้อมูลของกลุ่ม

-                   ประสานและบูรณาการร่วมกับหน่วยงานวิชาการต่างๆ

-                   พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้สอดคล้องกับความเป็นจริง

-                   รับผิดชอบตามที่ประธานมอบหมาย

ข้อที่ 20. อำนาจหน้าที่ของฝ่ายการตลาด

-                   ประสานและบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อพัฒนาด้านการตลาดในเชิงรุก

-                   ร่วมกับองค์กรต่างๆในการจัดการด้านตลาดเพื่อรองรับผลผลิตของกลุ่ม

-                   รับผิดชอบงานตามที่ประธานมอบหมาย

ข้อที่ 21. อำนาจหน้าที่ของเหรัญญิก

-                   รับจ่ายเงินของกลุ่ม

-                   จัดทำ  จัดเก็บ และรักษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเงิน

-                   ปฏิบัติงานต่างๆ ตามที่ประธานมอบหมาย

ข้อที่ 22.  อำนาจหน้าที่ของประชาสัมพันธ์

-                   จัดทำเอกสารเผยแพร่ของกลุ่ม

-                   ส่งเสริมสวัสดิการของกลุ่ม

ข้อที่ 23. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลุ่ม

-                   ประสานงานระหว่างกลุ่มกับสมาชิกกลุ่ม

-                   รวบรวมสภาพปัญหาเสนอต่อคณะกรรมการกลุ่มและแจ้งต่อสมาชิกตามโอกาส

-                   ร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของกลุ่ม

ข้อที่ 24. คณะทำงานด้านอำนวยการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

-                   กำหนดแนวทางรูปแบบการทำงาน

-                   ให้คำปรึกษา แนะนำในการปฏิบัติงาน โครงการ ตลอดจนแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น

-                   ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงาน

-                   จัดหางบประมาณในการดำเนินงาน

-                   ประสานงานกับคณะกรรมการด้านต่างๆ

ข้อที่ 25.  คณะทำงานด้านจัดการผลผลิตให้ได้คุณภาพ    มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

-                   จัดให้มีการถ่ายทอดความรู้ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร

-                   ให้สมาชิกมีการปฏิบัติดูแลส้มโอ ตามแผนงาน/ปฏิธิน ที่กำหนดตามหลักวิชาการและข้อตกลง

-                   กำหนดข้อตกลงแนวทางปฏิบัติ

-                   ติดตาม/ประเมินผลแปลงสมาชิก

-                   ให้ความร่วมมือกับคณะทำงานอื่น

ข้อที่ 26.  คณะทำงานด้านรวบรวมผลผลิตจำหน่าย    มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

-                   รวบรวมผลผลิตของสมาชิก

-                   จัดโควตาส่งพ่อค้า

 

ข้อที่  27. คณะทำงานด้านการตลาด    มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

-                   ประชาสัมพันธ์สินค้าผลผลิตของกลุ่ม

-                   ประสานงานระหว่างผู้ซื้อ / ผู้บริโภค / หน่วยงานอื่นๆ

-                   ศึกษาข้อมูลด้านการตลาด

-                   กำหนดคุณภาพ คัดเกรด จำนวน ราคา และอื่นๆที่จำเป็น

-                   การบรรจุภัณฑ์ก่อนจำหน่าย

ข้อที่  28. คณะทำงานด้านการเงินและบัญชี      มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

-                   ประชาสัมพันธ์ ระดมหุ้น

-                   รวบรวมเงินจากการระดมหุ้น

-                   จัดทำบัญชี รายรับ รายจ่าย ของกลุ่มฯ

-                    ติดต่อประสานงานกับหน่วยงาน / ธนาคาร / พ่อค้า / ผู้บริโภค

ข้อที่  29. คณะทำงานด้านการตรวจสอบ    มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

-                   ตรวจสอบการเงิน / บัญชี

-                    ตรวจสอบการปฏิบัติงานของคณะทำงานทุกคณะ

-                   กำกับ ดูแล วัสดุ / ครุภัณฑ์ ในการบริหารงาน

ข้อที่ 30 การพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการกลุ่ม

-                   ตาย

-                   ลาออก โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร

-                   พ้นจากการเป็นสมาชิกกลุ่ม

-                   คณะกรรมการมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง

                                     หมวดที่  7  การเงิน  การบัญชี

ข้อที่  31  ให้เหรัญญิกเป็นผู้จัดทำบัญชี และแสดงรายงานงบการเงินต่อสมาชิกทุก 2 เดือน

ข้อที่  32  ต้องนำเงินสดไปฝากธนาคารในวันถัดไปของการรับเงิน

ข้อที่  33.  ให้ประธาน เลขานุการ  และเหรัญญิก เป็นผู้เปิดบัญชีเงินฝากในครั้งแรก ส่วนการฝากเงินครั้งต่อไป ให้เหรัญญิก เป็นผู้นำเงินไปฝากธนาคาร

ข้อที่  34. การถอนเงิน ต้องให้ประธาน  เลขานุการ และเหรัญญิก  จำนวน 2 ใน 3 เป็นผู้ถอนเงินร่วมกัน

                                     หมวดที่  8  การประชุม

ข้อที่ 35. ในที่ประชุมให้ประธานกลุ่ม เป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานไม่อยู่ให้มอบหมายให้รองประธานเป็นประธานในที่ประชุมแทน

ข้อที่  36.  จะต้องมีการประชุมทุก  2  เดือน

ข้อที่  37.  สมาชิกต้องเข้าประชุมเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด จึงจะครบองค์ประชุม

                                

 

                                หมวดที่  9  กรรมการที่ปรึกษา

ข้อที่  38. ให้คณะกรรมการกลุ่มแต่งตั้ง คณะกรรมการที่ปรึกษา ตามที่เห็นสมควรและเหมาะสม

ข้อที่  39. คณะกรรมการที่ปรึกษา มีหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการบริหารงาน ตลอดจนแก้ไขปัญหา อุปสรรค์ที่อาจเกิดขึ้นได้

                                               หมวดที่  10  การแก้ไขระเบียบข้อบังคับ

ข้อที่ 40. การแก้ไขระเบียบข้อบังคับ  จะกระทำได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่ และจะต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง  และมีคะแนนเสียงรับรองให้มีการแก้ไขได้ ไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกที่มาประชุม

 

ประกาศ ณ วันที่  13 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

                                                                     

                                                                     (ลงชื่อ)

                                                                                        (นายอิมรอน  แสงวิมาน)

                                                                    ประธานวิสาหกิจชุมชนปรับปรุงคุณภาพส้มโอ               

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 23,673 Today: 4 PageView/Month: 34

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...